วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย

ตอนนี้ ปฐมวัย 28หมู่1กำลังเรียนวิชาวิธีประกันคุณภาพการศึกษา
ใครที่ยังไม่รู้ว่ามาตรฐานการศึกษาปฐมวัยมีอะไรบ้างก้อเข้าไปอ่นได้ตามลิงก์นี้นะคะ

http://www.superbk3.net/QU/pt.pdf

คู่มือครูที่น่ารู้

คู่มือคุณครู เล่มนี้ได้มาจากการดาวน์โหลด ต่อๆกันมา และก็ได้มาถึงดิฉัน ไม่มีปก ไม่มีชื่อผู้แต่ง มีแต่ สาระที่เชื่อมโยง บทบาทหน้าที่ของผู้เป็นครูและจิตวิทยาการศึกษา ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง
อ่านแล้ว คร่าวๆนะคะ มีประโยชน์มากจริงๆเหมาะกับเพื่อนครู รวมทั้ง น้องๆ ที่กำลังศึกษาวิชาการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้องๆที่จะไป ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ต้องอ่านเลย..แนะนำ
การศึกษาในยุคปัจจุบันนี้ นักเรียนมีบทบาท มีส่วนร่วมกับผู้สอน ในการจัดการเรียนรู้ ผู้เป็นครูต้องมีความเท่าทัน และสามารถบริหารจัดการห้องเรียนของตนได้เป็นอย่างดี เรามาเรียนรู้กันว่าคู่มือเล่มนี้ เขาว่าไว้อย่างไร

  คู่มือนี้แบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ๆ แต่ละส่วนจะประกอบไปด้วยเครื่องมือซึ่งท่าน
สามารถนำไปใช้เพื่อสร้างห้องเรียนที่นักเรียนมีส่วนร่วม มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ในด้านบวก เป็นห้องเรียนที่ครูสามารถนำพฤติกรรมเด็กไปในทางดีได้
 มากกว่าที่จะคอยโต้ตอบในเชิงลบเท่านั้น เครื่องมือเหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นโดยครูและผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและได้นำไปใช้ในห้องเรียนอย่างประสพความสาเร็จมาแลว ทั้งกับเด็กเล็กและเด็กโต

 ท่านที่โหลดไปอ่านแล้ว..รู้สึกอย่างไร
อย่าลืม แสดงความคิดเห็น มาในบล็อคนี้ด้วยนะคะ




คลิ๊กที่ลิงก์เลยนะคะ


http://cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/268/889/original_handbook_teacher1.pdf?1285478625

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานช้างปี53




น้องไข่มุก มาดูรอบซ้อมใหญ่






หนูเพิ่งอายุ10วันเอง

ช้างความเคารพ






วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คุณลักษณะของครูอนุบาล



คุณลักษณะของครูอนุบาล  หมายถึง  ลักษณะประจำพร้อมทั้งการกระทำที่ชี้ให้เห็นถึงความดี
ของครูผู้ทำหน้าที่สอนและอบรมเลี้ยงดูเด็ก  ครูอนุบาลนอกจากจะทำหน้าที่ในการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนแล้ว  ยังต้องทำหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กด้วย  ซึ่งแตกต่างไปจากครูผู้สอนในระดับอื่นๆ  ดังนั้นครูอนุบาลจึงควรมีลักษณะดังนี้ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2538 : 387-390,  399-400)
1.       รักเด็ก  ถ้าครูอนุบาลมีนิสัยรักเด็กอย่างแท้จริงแล้ว  จะทำให้อยู่กับเด็กได้อย่างมีความสุข  และเต็มใจที่จะทำงานต่างๆ  อย่างเต็มกำลังความสามารถ
2.       ให้ความอบอุ่นแก่เด็ก  เนื่องจากเด็กวัยนี้ต้องการความอบอุ่นซึ่งถ้าหากเด็กได้รับความอบอุ่นเหมือนอยู่ที่บ้านแล้ว  จะทำให้เด็กเกิดความไว้วางใจและอยากมาโรงเรียน
3.       เมตตากรุณา  บุคคลที่จะอยู่กับเด็กควรเป็นผู้ที่มีจิตใจรักและเอ็นดูเด็ก  ปรารถนา ให้เด็กมีความสุข  และถ้าหากครูอนุบาลได้อบรมเด็กในสิ่งเหล่านี้แล้ว  ก็จะทำให้เด็กมีจิตใจที่อ่อนโยนมีความเมตตากรุณาต่อผู้อื่นเช่นเดียวกัน
4.       อารมณ์ดี  ครูอนุบาลควรมีอารมณ์ดี และควบคุมอารมณ์ตนเองได้
5.       ใจเย็น  ครูอนุบาลต้องเป็นคนใจเย็น  เนื่องจากเด็กๆ มักจะมีปัญหาให้ช่วยอยู่เสมอๆบางครั้งอาจเกี่ยวโยงถึงผู้ใหญ่ด้วย  อาจได้รับการต่อว่า  หรือกล่าวร้ายต่างๆ ดังนั้นจึงต้องเป็นผู้มีความใจเย็น
6.       อดทน  ครูอนุบาลต้องมีความอดทน  เนื่องจากต้องทำหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ซึ่งเด็กในวัยนี้ยังเป็นเด็กเล็ก  ไม่สามารถเข้าใจหรือทำอะไรได้เหมือนผู้ใหญ่  จึงต้องใช้เวลาและความอดทน
7.       ขยัน  เป็นผู้ที่เอาใจใส่ต่อหน้าที่  ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอและรับผิดชอบงานในหน้าที่
8.       ยุติธรรม  ครูอนุบาลต้องมีความยุติธรรมและวางตัวเป็นกลาง
9.       ซื่อสัตย์  เนื่องจากาครูอนุบาลต้องปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลหลายฝ่าย  และต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ ด้วย
10.    ยิ้มแย้มแจ่มใส  ครูอนุบาลต้องเป็นผู้ยิ้มแย้มแจ่มใส  ดูแล้วน่าคบหาสมาคมด้วยทำให้ผู้ใกล้ชิดรู้สึกอบอุ่น
11.    แคล่วคล่องว่องไว  ครูอนุบาลต้องเป็นผู้ที่แคล่วคล่องว่องไว  กระฉับกระเฉงเนื่องจากต้องดูแลเด็กที่อยู่ในวัยไม่อยู่นิ่ง  ซึกซน
12.    หน้าตา  ทรวดทรงและท่าทางดี  ครูอนุบาลควรฝึกการนั่ง  การเดิน  การยืนให้ถูกต้องน่าดู  เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก  หน้าตาควรแต่งพองาม  ทรงผมเหมาะสมกับวัย
13.    สุขภาพดี  ครูอนุบาลต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรง  เนื่องจากต้องทำกิจกรรมร่วมกับเด็กด้วย
14.    การแต่งกายดี  ครูอนุบาลควรแต่งกายให้น่าดู  สะอาดเรียบร้อยเหมาะสมกับวัย
15.    วาจาสุภาพไพเราะ  ครูอนุบาลจะต้องรู้จักใช้คำพูด  ควรใช้คำพูดที่เด็กสามารถเข้าใจความหมายได้  พูดจาสุภาพ  อ่อนหวานและไพเราะ  เนื่องจากเด็กอนุบาลเป็นวัยที่อยู่ในระหว่างการเรียนรู้ภาษาจะจดจำสิ่งที่ได้ยินและจะพูดตาม
16.    กิริยามารยาทดี  ครูอนุบาลควรมีกิริยามารยาทงามรู้จักกาลเทศะ  รู้จักมารยาทต่างๆ ในสังคม เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก
17.    ตรงต่อเวลาและหน้าที่  ครูอนุบาลต้องตรงต่อเวลาและหน้าที่เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เพื่อนร่วมงาน  อีกทั้งควบคุมดูแลการจัดกิจกรรมต่างๆ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
18.    มีมนุษย์สัมพันธ์ดี  เนื่องจากครูอนุบาลต้องปฏิบัติร่วมกับบุคลากรหลายฝ่ายจึงต้องสามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
19.    เข้าใจธรรมชาติและความต้องการของเด็ก  ครูอนุบาลต้องมีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการ ของเด็ก และสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ให้กับเด็กได้
20.    ชอบศิลปะ  ครูอนุบาลควรจะวาดภาพระบายสีได้  อย่างน้อยวาดภาพลายเส้นบนกระดานดำได้ ร้องเพลงได้ ทำท่าทางประกอบเพลงได้ สามารถเล่นดนตรีได้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้การสอนน่าสนใจสำหรับเด็กยิ่งขึ้น
21.    รับฟังคำพูดและตอบคำถามเด็ก เนื่องจากเด็กวัยนี้มีความอยากรู้  อยากเห็น ชอบถามถึงสิ่งต่างๆ  ที่อยากรู้และมีความสงสัยอยู่เสมอ  ดังนั้นครูอนุบาลจะต้องเป็นผู้ที่สามารถตอบคำถามเด็กได้ตรงกับความจริงเท่าที่เด็กจะเข้าใจความหมายได้
22.    ให้ความร่วมมือกับพ่อแม่ผู้ปกครองเด็ก  ครูอนุบาลควรสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบ้านกับโรงเรียน  ควรปฏิบัติตนเป็นมิตรที่ดีต่อพ่อแม่และผู้ปกครองเด็ก  ยินดีให้ความร่วมมือและช่วยเหลือแนะนำ เพื่อแก้ปัญหาเด็ก

23.    ประเมินผลการปฏิบัติงานตนเอง  ครูอนุบาลควรประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเองในทุกๆด้าน  ด้วยความเที่ยงตรง  ได้แก่  ด้านการสอน  การเรียนของเด็ก  การผลิตและใช้สื่อการสอน  การปรับตัวของเด็ก  การส่งเสริมพัฒนาการ  การอบรมเลี้ยงดูเด็ก  ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน  พ่อแม่ผู้ปกครอง  และงานธุรการประจำชั้น

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ครูปฐมวัยต้องเป็นยังไง






***ครูปฐมวัยต้องเป็นเหมือน  "ผึ้ง"  ซึ่งมีคุณลักษณะที่ ขยัน เพราะครูปฐมวัยจะต้อง  ขยันพัฒนาตนเอง พัฒนานวัตกรรม  พัฒนาเทคนิควิธีการ  ทำงานเป็นทีมอยางมีระบบ
***ครูปฐมวัยต้องเป็นเหมือน "เหยี่ยว"  ซึ่งมีสายตาที่กว้างไกล  มีกรงเล็บที่แข็งแรง  มีทวงท่าในการกางปีกโบยบินที่โฉบเฉี่ยวที่สง่างาม  มั่นคง ซึ่งเป็นการบ่งบอกของความเป็นครูมืออาชีพ
***ครูปฐมวัยต้องเป็นเหมือน  "นกฮูก" ที่มีความสุขุมลุ่มลึก  สงบ เยือกเย็น รอบคอบ
***ครูปฐมวัยต้องเป็นเหมือน  "แรด"  ที่มีความอดทน  แข็งแรง บากบั่น ไม่ท้อถอย
สรุปว่า..ครูปฐมวัย... ต้องเป็นผู้ที่ขยัน  อดทน  อดกลั้น  สงบ  มีสมาธิดี  รักและ เอื้ออาทร  ไม่ท้อแท้  มุ่งมั่น  บากบั่น ช่วยเหลือตนเองและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทันสมัยอยู่เสมอ....ที่สำคัญต้องเชื่อมั่นว่า  "เด็กทุกคนสามารถพัฒนาได้".......


วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

กว่าจะออกฝึกได้

กว่าจะได้เป็นครู

ความประทับใจจากการฝึกประสบการณ์3
  เป็นการฝึกที่เครียดมากๆ เพราะต้องทำแผนการจัดประสบการณ์ส่งอาจารย์ก่อนทั้งหมด 4แผน
แล้วเรายังไม่เคยเห็นรูปแบบที่ถูกต้องของแผนเลย หมายถึงว่ายังไม่มีความรู้แตกฉานเลยล่ะ อยากจะบอกเหลือเกินว่าพวกหนูยังไม่ได้เรียนเลยค่ะไอ้การเขียนแผนเนี่ยอาจารย์ช่วยสอนหน่อยได้ไหมคะก็ไม่กล้า เงียบกันทั้งห้องสรุปแล้วแผนที่1ก็ยังไม่ผ่านแล้วไอ้2 3 4ไม่ต้องพูดถึงแถมโรงเรียนที่ไปฝึกก็จะปิดเทอมอีก เฮ้อ พูดไม่ออกได้แต่คิดว่าเอาล่ะเป็นงัยเป็นกันสู้ ๆๆ  จะถูกจะผิดก็ทำมาก่อนเดี๋ยวอาจารย์ก็ชี้แนะเองล่ะ
     อาจารย์เราก็ดีนะเคี่ยวพวกเราจนงวดเลยล่ะถ้าไม่เก่งก็คงแปลกแล้วล่ะเพื่อนๆมีความเห็นว่างัยล่ะคะ

เส้นทางการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย









แผนจัดประสบการณ์ สำหรับครูปฐมวัย
ครูปฐมวัย  มีความลำบากใจมากในการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์  เพราะที่มีก็เพียงแค่  มีมีมีมี  เท่านั้น  นำไปเป็นเนื้อนาบุญไม่ได้  เป็นสิ่งลำบากใจมากๆๆๆๆๆๆๆ  สนใจบ้างเรามีดีจะบอก ทำอย่างไรให้โดนใจ  จัดประสบการณ์ได้อย่างสบายๆๆๆๆๆๆๆๆ ไม่ต้องอายใคร  นำไปต่อยอดได้อีกด้วย...เอาเป็นอันว่าเรามีเส้นทางการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้กับครูปฐมวัย  พอหอมปากหอมคอ  ดังนี้
   
  1.  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

1.  จัดระเบียบการนั่ง/ยืน  ตามสาระที่ควรเรียนรู้
2.  แจ้งจุดประสงค์  ตกลงกฎ กติกา ระเบียบ  เงื่อนไข
3.  แนะนำ สาธิต กิจกรรม สื่อ วัสดุ-อุปกรณ์  เพลง จังหวะ ดนตรี  ประกอบการจัดกิจกรรม

4.  สาธิต  ท่าทางประกอบการเคลื่อนไหวจากง่ายไปหายาก  จากอยู่กับที่ไปหาเคลื่อนที่

5.  เด็ก ๆ ปฏิบัติกิจกรรมตามแบบที่ครูนำเสนอ

6.  ครูเสริมแรง กระตุ้น ยั่วยุ ให้ปฏิบัติด้วยความชื่นชม ร่าเริง
     สนุกสนานทุกคน

7.  ให้เด็ก ๆ ปฏิบัติเองโดยไม่มีแบบ และตามจินตนาการ อย่าง
     สร้างสรรค์

8.  เด็กและครูร่วมกันสรุปการจัดกิจกรรม  ที่เป็นองค์ ความรู้ใหม่/พัฒนาการ

9.  ครูให้เด็กนอน หรือนั่งพักผ่อน  คลายอิริยาบท
                    
   2. กิจกรรมสร้างสรรค์
1.  จัดระเบียบการนั่งของเด็ก

2.  แบ่งกลุ่มเด็ก  เลือกผู้นำกลุ่ม  ตัวแทนรับอุปกรณ์กับครู ที่เตรียมไว้

3.  สาธิต  อธิบาย  สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ การปฏิบัติกิจกรรมที่ครูจัดไว้

4.  แจ้งข้อตกลง  กติกา  การเข้าร่วมกิจกรรม เน้นความสะอาด  ปลอดภัย  คุณธรรม  กระบวนการคิด

5.  เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม  ตามข้อตกลง  2-3  กิจกรรม

6.  ครูสังเกตพฤติกรรมและมีการเสริมแรง กระตุ้น  ยั่วยุให้ปฏิบัติด้วยความพึงพอใจ

7.  เด็กนำเสนอผลงานที่ประทับใจ

8.  เด็กและครูร่วมกันสรุปการจัดกิจกรรม  ที่เป็นองค์ ความรู้ใหม่/พัฒนาการ

9.  เด็กนำอุปกรณ์เก็บเข้าที่  และทำความสะอาดร่วมกัน
                     
 3.  กิจกรรมเสรี หรือเล่นตามมุม
1.  จัดระเบียบการนั่งของเด็ก

2.  แจ้งข้อตกลง  กติกา  การเปิดมุม (เมื่อเปิดมุมหนังสือ
     ห้ามเปิดมุมที่มีเสียงดัง เช่น มุมดนตรี)

3.  เด็กเลือกมุมที่เปิดตามความสมัครใจ

4.  ครูสังเกตพฤติกรรมและมีการเสริมแรง ด้วยการกระตุ้นยั่วยุ  แนะนำ ให้เด็กรู้จัก แบ่งปัน เอื้อเฟื้อ  รู้จักรอคอย เสียสละ

5.  สุ่มเด็กเล่าความประทับใจสรุปร่วมกัน
6.  เด็กเก็บของเข้าที่  และร่วมกันสังเกต /สำรวจความเรียบร้อยของอุปกรณ์
               
 4.  กิจกรรมเสริมประสบการณ์

1.  จัดระเบียบการนั่ง  (รูปครึ่งวงกลม  ตัวยู  เกือกม้า)

2.  ครูนั่งบนเก้าอี้ตัวเล็ก ๆ  หรือนั่งกับพื้น  อยู่ในระดับสายตากับ
     เด็ก  จัดวางอุปกรณ์/สื่อ ไว้ข้าง ๆ ครูทุกรายการที่จะจัดกิจกรรม
 
3.  ครูเก็บเด็กด้วยเทคนิคที่หลากหลาย

4.  ครูจัดกิจกรรมเรียนรู้ด้วยเทคนิคที่หลากหลาย  ที่เน้น กระบวนการคิด  ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
     และ   แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เช่น  เล่านิทาน บทบาทสมมุติ สาธิต  ทดลอง ฯลฯ

5.  ครูเปิดโอกาสเด็กทุกคนได้มีส่วนร่วมการจัดกิจกรรม

6.  เด็กนำเสนอประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ

7.  ครูอาจเก็บเด็กอีกครั้ง(กรณีที่เด็ก ๆ เกิดความวุ่นวาย)

8.  เด็กและครูร่วมกันสรุปการจัดกิจกรรม  ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่/พัฒนาการ

9.  เก็บวัสดุ อุปกรณ์  เข้าที่ / ส่งครู
                     
5.  กิจกรรมกลางแจ้ง

1.  จัดแถว จับรถไฟ  เดินไปสนามกลางแจ้ง  บ่อทราย

2.  เมื่อถึงสนามควรจัดแถวก่อน  แล้วจึงให้เด็กอบอุ่นร่างกาย

3.  อธิบาย  สาธิต  วิธีการเล่น

4.  แจ้งข้อตกลง  กติกา  เน้นความปลอดภัย

5.  ทดลองให้เด็กเล่น

6.  เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามที่กำหนด  เน้นปฏิบัติตามกติกาและความปลอดภัย

7.  ครูสังเกตพฤติกรรมและมีการเสริมแรง

8.  เด็กเล่นอิสระ

9.  เด็กและครูร่วมกันสรุปการจัดกิจกรรม  ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่/พัฒนาการ
10.  เด็กนั่งคลายกล้ามเนื้อ
11.  เด็กทำความสะอาดร่างกาย
12.  เด็กเดินแถวกลับเข้าห้องเรียน
                 
   6.  เกมการศึกษา
1.  จัดระเบียบการนั่ง
2.  ครูแจ้งจุดประสงค์  แล้วอธิบาย  สาธิต  การเล่นเกมใหม่
3.  แบ่งกลุ่มเด็ก

4.  ตัวแทนกลุ่มรับเกมการศึกษา ใหม่  และเก่า

5.  เด็กเล่นเกมการศึกษาตามความสมัครใจ  ทั้งเกมใหม่ และเกม
     ที่เคยเล่นมาแล้ว
6.  ครูสังเกตพฤติกรรมและมีการเสริมแรง

7.  เด็กและครูร่วมกันสรุปการจัดกิจกรรม  ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่/พัฒนาการ
8.  เก็บวัสดุ อุปกรณ์  เข้าที่ / ส่งครู
9.  เด็กเดินแถวกลับเข้าห้องเรียน