วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

กว่าจะออกฝึกได้

กว่าจะได้เป็นครู

ความประทับใจจากการฝึกประสบการณ์3
  เป็นการฝึกที่เครียดมากๆ เพราะต้องทำแผนการจัดประสบการณ์ส่งอาจารย์ก่อนทั้งหมด 4แผน
แล้วเรายังไม่เคยเห็นรูปแบบที่ถูกต้องของแผนเลย หมายถึงว่ายังไม่มีความรู้แตกฉานเลยล่ะ อยากจะบอกเหลือเกินว่าพวกหนูยังไม่ได้เรียนเลยค่ะไอ้การเขียนแผนเนี่ยอาจารย์ช่วยสอนหน่อยได้ไหมคะก็ไม่กล้า เงียบกันทั้งห้องสรุปแล้วแผนที่1ก็ยังไม่ผ่านแล้วไอ้2 3 4ไม่ต้องพูดถึงแถมโรงเรียนที่ไปฝึกก็จะปิดเทอมอีก เฮ้อ พูดไม่ออกได้แต่คิดว่าเอาล่ะเป็นงัยเป็นกันสู้ ๆๆ  จะถูกจะผิดก็ทำมาก่อนเดี๋ยวอาจารย์ก็ชี้แนะเองล่ะ
     อาจารย์เราก็ดีนะเคี่ยวพวกเราจนงวดเลยล่ะถ้าไม่เก่งก็คงแปลกแล้วล่ะเพื่อนๆมีความเห็นว่างัยล่ะคะ

เส้นทางการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ระดับปฐมวัย









แผนจัดประสบการณ์ สำหรับครูปฐมวัย
ครูปฐมวัย  มีความลำบากใจมากในการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์  เพราะที่มีก็เพียงแค่  มีมีมีมี  เท่านั้น  นำไปเป็นเนื้อนาบุญไม่ได้  เป็นสิ่งลำบากใจมากๆๆๆๆๆๆๆ  สนใจบ้างเรามีดีจะบอก ทำอย่างไรให้โดนใจ  จัดประสบการณ์ได้อย่างสบายๆๆๆๆๆๆๆๆ ไม่ต้องอายใคร  นำไปต่อยอดได้อีกด้วย...เอาเป็นอันว่าเรามีเส้นทางการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้กับครูปฐมวัย  พอหอมปากหอมคอ  ดังนี้
   
  1.  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

1.  จัดระเบียบการนั่ง/ยืน  ตามสาระที่ควรเรียนรู้
2.  แจ้งจุดประสงค์  ตกลงกฎ กติกา ระเบียบ  เงื่อนไข
3.  แนะนำ สาธิต กิจกรรม สื่อ วัสดุ-อุปกรณ์  เพลง จังหวะ ดนตรี  ประกอบการจัดกิจกรรม

4.  สาธิต  ท่าทางประกอบการเคลื่อนไหวจากง่ายไปหายาก  จากอยู่กับที่ไปหาเคลื่อนที่

5.  เด็ก ๆ ปฏิบัติกิจกรรมตามแบบที่ครูนำเสนอ

6.  ครูเสริมแรง กระตุ้น ยั่วยุ ให้ปฏิบัติด้วยความชื่นชม ร่าเริง
     สนุกสนานทุกคน

7.  ให้เด็ก ๆ ปฏิบัติเองโดยไม่มีแบบ และตามจินตนาการ อย่าง
     สร้างสรรค์

8.  เด็กและครูร่วมกันสรุปการจัดกิจกรรม  ที่เป็นองค์ ความรู้ใหม่/พัฒนาการ

9.  ครูให้เด็กนอน หรือนั่งพักผ่อน  คลายอิริยาบท
                    
   2. กิจกรรมสร้างสรรค์
1.  จัดระเบียบการนั่งของเด็ก

2.  แบ่งกลุ่มเด็ก  เลือกผู้นำกลุ่ม  ตัวแทนรับอุปกรณ์กับครู ที่เตรียมไว้

3.  สาธิต  อธิบาย  สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ การปฏิบัติกิจกรรมที่ครูจัดไว้

4.  แจ้งข้อตกลง  กติกา  การเข้าร่วมกิจกรรม เน้นความสะอาด  ปลอดภัย  คุณธรรม  กระบวนการคิด

5.  เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรม  ตามข้อตกลง  2-3  กิจกรรม

6.  ครูสังเกตพฤติกรรมและมีการเสริมแรง กระตุ้น  ยั่วยุให้ปฏิบัติด้วยความพึงพอใจ

7.  เด็กนำเสนอผลงานที่ประทับใจ

8.  เด็กและครูร่วมกันสรุปการจัดกิจกรรม  ที่เป็นองค์ ความรู้ใหม่/พัฒนาการ

9.  เด็กนำอุปกรณ์เก็บเข้าที่  และทำความสะอาดร่วมกัน
                     
 3.  กิจกรรมเสรี หรือเล่นตามมุม
1.  จัดระเบียบการนั่งของเด็ก

2.  แจ้งข้อตกลง  กติกา  การเปิดมุม (เมื่อเปิดมุมหนังสือ
     ห้ามเปิดมุมที่มีเสียงดัง เช่น มุมดนตรี)

3.  เด็กเลือกมุมที่เปิดตามความสมัครใจ

4.  ครูสังเกตพฤติกรรมและมีการเสริมแรง ด้วยการกระตุ้นยั่วยุ  แนะนำ ให้เด็กรู้จัก แบ่งปัน เอื้อเฟื้อ  รู้จักรอคอย เสียสละ

5.  สุ่มเด็กเล่าความประทับใจสรุปร่วมกัน
6.  เด็กเก็บของเข้าที่  และร่วมกันสังเกต /สำรวจความเรียบร้อยของอุปกรณ์
               
 4.  กิจกรรมเสริมประสบการณ์

1.  จัดระเบียบการนั่ง  (รูปครึ่งวงกลม  ตัวยู  เกือกม้า)

2.  ครูนั่งบนเก้าอี้ตัวเล็ก ๆ  หรือนั่งกับพื้น  อยู่ในระดับสายตากับ
     เด็ก  จัดวางอุปกรณ์/สื่อ ไว้ข้าง ๆ ครูทุกรายการที่จะจัดกิจกรรม
 
3.  ครูเก็บเด็กด้วยเทคนิคที่หลากหลาย

4.  ครูจัดกิจกรรมเรียนรู้ด้วยเทคนิคที่หลากหลาย  ที่เน้น กระบวนการคิด  ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
     และ   แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เช่น  เล่านิทาน บทบาทสมมุติ สาธิต  ทดลอง ฯลฯ

5.  ครูเปิดโอกาสเด็กทุกคนได้มีส่วนร่วมการจัดกิจกรรม

6.  เด็กนำเสนอประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ

7.  ครูอาจเก็บเด็กอีกครั้ง(กรณีที่เด็ก ๆ เกิดความวุ่นวาย)

8.  เด็กและครูร่วมกันสรุปการจัดกิจกรรม  ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่/พัฒนาการ

9.  เก็บวัสดุ อุปกรณ์  เข้าที่ / ส่งครู
                     
5.  กิจกรรมกลางแจ้ง

1.  จัดแถว จับรถไฟ  เดินไปสนามกลางแจ้ง  บ่อทราย

2.  เมื่อถึงสนามควรจัดแถวก่อน  แล้วจึงให้เด็กอบอุ่นร่างกาย

3.  อธิบาย  สาธิต  วิธีการเล่น

4.  แจ้งข้อตกลง  กติกา  เน้นความปลอดภัย

5.  ทดลองให้เด็กเล่น

6.  เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมตามที่กำหนด  เน้นปฏิบัติตามกติกาและความปลอดภัย

7.  ครูสังเกตพฤติกรรมและมีการเสริมแรง

8.  เด็กเล่นอิสระ

9.  เด็กและครูร่วมกันสรุปการจัดกิจกรรม  ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่/พัฒนาการ
10.  เด็กนั่งคลายกล้ามเนื้อ
11.  เด็กทำความสะอาดร่างกาย
12.  เด็กเดินแถวกลับเข้าห้องเรียน
                 
   6.  เกมการศึกษา
1.  จัดระเบียบการนั่ง
2.  ครูแจ้งจุดประสงค์  แล้วอธิบาย  สาธิต  การเล่นเกมใหม่
3.  แบ่งกลุ่มเด็ก

4.  ตัวแทนกลุ่มรับเกมการศึกษา ใหม่  และเก่า

5.  เด็กเล่นเกมการศึกษาตามความสมัครใจ  ทั้งเกมใหม่ และเกม
     ที่เคยเล่นมาแล้ว
6.  ครูสังเกตพฤติกรรมและมีการเสริมแรง

7.  เด็กและครูร่วมกันสรุปการจัดกิจกรรม  ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่/พัฒนาการ
8.  เก็บวัสดุ อุปกรณ์  เข้าที่ / ส่งครู
9.  เด็กเดินแถวกลับเข้าห้องเรียน